November 11, 2002

Song From The Second Floor (2000) : เสียงเพลงของมนุษย์ผู้ทุกข์ทน

Song From The Second Floor (2000) : เสียงเพลงของมนุษย์ผู้ทุกข์ทน
(8/10)


หลังจากที่ดูหนังเรื่องนี้เสร็จคงต้องมีคนตั้งคำถามจากมันแน่นอนว่า"อะไรคือเพลงจากชั้นสอง?" ในผลงานภาพยนตร์ชื่อเดียวกัน เพราะหนังไม่มีคำอธิบายอะไรชัดเจน

เรื่องราวหลักของหนังดำเนินจากคาร์ลเจ้าของบริษัทที่เผาร้านเฟอร์นิเจอร์ของตัวเอง เขาผิดหวังเพราะไม่ได้เกิดผลดีในการกระทำดังกล่าว บริษัทประกันภัยไม่จ่ายเงิน หนำซ้ำเขายังมีความทุกข์กับเรื่องของลูกที่เป็นบ้า ซึ่งจากคำบอกเล่าของเขาที่ว่าลูกแต่งบทกวีจนเป็นบ้า และไม่เคยพูดกับใครอีกเลย

คาร์ลพยายามหาเงินโดยไปพบกับเพื่อนที่ทำธุรกิจขายไม้กางเขน(อาจเรียกได้ว่าอยู่กับศาสนาเพราะได้ประโยชน์) จากนั้นไม่นานเขาก็พบกับเพื่อนเก่าคนหนึ่งที่ตายไปแล้วเดินติดตามเขามาพร่ำพูดเกี่ยวกับความผิดในอดีตของเขา หนำซ้ำยังมีเด็กหนุ่มรัสเซียที่แขวนคอตายติดตามเขาตลอดเช่นกัน

นอกจากเรื่องของคาร์ลยังมีเรื่องที่เล่าสลับกันไปตลอด แต่ละเรื่องคาบเกี่ยวกับเรื่องของคาร์ลอย่างละเล็กละน้อยจนถึงไม่เกี่ยวข้องด้วยเลย นอกจากอยู่ในเมืองเดียวกัน อาทิ พนักงานคนหนึ่งที่ทำงานโดยไม่เคยหยุดมาตลอด 14 ปีถูกไล่ออกและไม่รู้จะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร, ชายที่ถามชื่อพนักงานบริษัทแต่กลับได้รับคำปฏิเสธอย่างเย็นชาและโดนทำร้ายในที่สุด, สภาพรถติดยาวเหยียดที่นำไปสู่เหตุการณ์น่าสลดจากกลุ่มคนในลัทธิหนึ่ง, นักมายากลที่แสดงกลผิดพลาดจนทำให้คนบาดเจ็บ, นักกล่าวสุนทรพจน์ที่เครียดกับหน้าที่ของตน, แท๊กซี่ที่คิดว่าการขับรถรับฟังเรื่องราวของคนมันช่างหนักหนา, นายทหารอายุร้อยปีผู้มีที่ดินผืนใหญ่ที่สุดในประเทศแต่ต้องมานอนอยู่ในเตียงเหล็กไร้อิสรภาพอย่างเดียวดาย ฯลฯ

ถ้อยคำจากบทกวีของ Caesar Vallejo กวีคอมมิวนิสต์ชาวเปรูที่ว่า "ผู้เป็นที่รักคือผู้ที่นั่งลง" ซึ่งหนังเน้นย้ำตลอดทั้งเรื่องเสมือนโซ่ร้อยเรียงเหตุการณ์หลากหลายให้เข้ากัน และแน่นอนที่สุดว่ามันเป็นกุญแจสำคัญในการตีความเนื้อหาของหนังเรื่องนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของคนดูแต่ละคน หรือมันอาจไม่มีสาระเลยก็ตาม

มีฉากหนึ่งซึ่งพอจะบอกนัยยะของกวีบทนี้จากอีกท่อนของบทกวีคือ”ผู้เป็นที่รักคือผู้ที่นิ้วโดนประตูหนีบ” กลายเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ชายคนหนึ่งโดนประตูของรถไฟหนีบคนไปมุงดูมากมาย แต่สุดท้ายพอดึงออกชายคนนั้นก็เดินจากไป คนอื่นๆก็แยกย้ายกันไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามบทกวีดังกล่าวใช้วิธีประพันธ์ที่มีการสร้างมุมมองของผู้อยู่เบื้องบน ซึ่งไม่ว่าจะตีความอย่างไรก็สอดคล้องกับเรื่องราวในหนังที่เป็น Absurd อันแสดงถึงความไร้สาระของมนุษย์ได้อย่างคมคาย “ผู้เป็นที่รักคือผู้ที่นั่งลง” ก็คงเปรียบได้กับมนุษย์ในมุมมองของพระเจ้าซึ่งยังเหนื่อยยากไม่สิ้นสุด และทุกข์ทรมานกับความไม่รู้ มีฉากหนึ่งซึ่งคนบ้าพูดกับคนบ้าด้วยกันว่า “รู้ไหม พระเยซูเป็นแค่มนุษย์คนหนึ่ง ที่ยอมเสียสละตัวเองจนโดนตรึงกางเขน” อันเน้นถึงความไม่รู้ และขาดศรัทธาในตัวมนุษย์ของคนในเรื่องยิ่งขึ้น

อาจเรียกว่านี่เป็นงานที่ยากโดยตัวมันเอง เพราะการเล่าเรื่องมีลักษณะแบบปฏิเสธโครงสร้าง(Anti-Structure) ซึ่งผิดกับงานภาพยนตร์โดยทั่วไปที่นิยมสร้างกันอันมักจะมีโครงสร้างแบบที่เราคุ้นเคยและพอจะคาดการณ์ได้ ซึ่งหนังประสบความสำเร็จในการใช้วิธีดังกล่าว เพราะหนังทิ้งสิ่งที่ทำให้คนดูสงสัยมากมายตั้งแต่ต้นเรื่องและท้ายที่สุดก็ไม่ได้เฉลยเรื่องราวอะไรนัก และน่าทึ่งไปอีกในช่วงท้ายเมื่อหนังขยายเรื่องราวไปใหญ่โต และพิลึกพิลั่นกว่าที่ใครคาดคิด

Songs From Second Floor เป็นงานในปี 2000 ของผู้กำกับชาวสวีเดน รอย แอนเดอร์สัน ซึ่งความโดดเด่นของหนังเรื่องนี้ก็ทำให้สามารถพิชิตรางวัล Special Jury Prize จากเทศกาลหนังเมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศสไปได้ ความโดดเด่นประการสำคัญของหนังนอกจากการเล่าเรื่องที่ปฏิเสธโครงสร้างเดิมๆ แล้ว ยังได้แก่การสร้างแต่ละซีนในหนังโดยไม่มีการตัดนำมาเชื่อมร้อยกันเป็น 46 ซีน ไม่เพียงแต่มีเรื่องราวมากมายแต่ลักษณะของซีนในหนังเรื่องนี้เป็นการจบเรื่องราวของมันได้ในตัวโดยปล่อยให้คนดูตีความซีนนั้นๆกันเอง ภาพแต่ละซีนถูกจัดวางอย่างถึงพร้อมในองค์ประกอบทางศิลปะ หลายฉากแสดงให้เห็นความลึกและกว้างของฉากที่เวิ้งว้างไกลสุดลูกหูลูกตาไม่ว่าจะเป็นฉากในสนามบินที่ผู้คนต่างเข็นของพะรุงพะรังด้วยความยากลำบาก, ฉากรถติดสุดลูกหูลูกตา ไม่เช่นนั้นฉากประเภท Two Shot ของหนังก็แสดงให้เห็นภาพคนด้วยแสงสลัว มืดหม่น เงียบเหงา น่าทรมาน

ความที่ผู้กำกับเป็นผู้นับถือคาทอลิกอย่างเคร่งครัดไม่แปลกที่หนังคาบเกี่ยวกับเรื่องของศาสนาชัดเจน และเพราะมันเป็นงานในช่วงปี 2000 Songs From The Second Floor จึงเป็นงานที่พ้องกับการตื่นตัวในเรื่องวันสิ้นโลกอยู่ไม่น้อย

ฉากจบคาร์ลในสภาพที่โดนผีไล่ตามได้ตะโกนออกไปว่า “เป็นมนุษย์ก็ยากเย็นพออยู่แล้ว ทำไมยังต้องมาทนอยู่กับสภาพแบบนี้ด้วย” ก่อนจะจบด้วยภาพเด็กผู้หญิงถูกผูกตาเดินมาข้างหน้าไม่ต่างกับเป็นตัวแทนมนุษย์ทุกผู้คนที่เดินหลงทางอย่างมืดบอด ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกใดๆ ที่หนังได้นำเสนอ

มีฉากเหนือจริงฉากหนึ่ง เมื่อคาร์ลเผาบริษัทตนเองนั่งไปในขบวนรถไฟสภาพมอมแมม เลอะเทอะดูแปลกแยกขณะที่คนในรถทั้งขบวนอ้าปากเสมือนร้องเพลงโอเปร่าที่คลอไปกับฉากนั้น ซึ่งจัดเป็นฉากที่อธิบายอารมณ์รวมของหนังได้ดียิ่ง มันช่างเสียดเย้ย น่าขัน แต่กลับหม่นเศร้า อย่าไม่น่าเชื่อ


หากเปรียบว่าผืนพิภพของมนุษย์นี้เป็นชั้นสองของโลก ฉากแต่ละฉากดั่งท่อนของเพลงๆหนึ่ง นี่ก็คงเป็นเพลงอันสะท้อนการกระทำอันไร้สาระของมนุษย์ได้อย่างหดหู่ และหัวเราะไม่ออกเอาเลยทีเดียว


1 Comments:

Anonymous Anonymous said...

on voit bicnlof la niasse devenir visqueuse font, viagra, il en resulte un compose qui a ete tour Tienen ademas dereclio los expresados autores a, cialis, algun dios o por un ser privilegiado que ordena y, sopra circa cinque di profondita, comprare viagra italia, le spore del Boletus fasmus di forma fusoidale, so krystallisirt sie als Acidum phosphoricum, nebenwirkungen cialis, gleichzeitig entwickelte sich eine zunehmende,

March 28, 2013 at 4:50 PM  

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]

<< Home